organicbook

Menu
  • Home
  • Beauty
  • Diet
  • Food
  • Health
  • Life
  • Green
  • Parenting
Home
Food
Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก อาจเพราะว่าค่ารักษาพยาบาลมีราคาแพงขึ้นทุกๆ ปี การหันกลับมาดูแลตัวเองจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

นอกจากการออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน ในบทความนี้จะขอเจาะลึกถึงเรื่องการเลือกชนิดของน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ วิธีปรุงที่เหมาะสำหรับน้ำมันแต่ละชนิด และแนะนำวิธีการดูฉลากเพื่อเลือกซื้อง่ายได้น้ำมันมาตราฐาน

น้ำมันมักถูกมองเป็นโทษมากจนเกินไป จนบางท่านอาจเข้าใจว่าไม่ควรทานน้ำมันเลยก็มี ซึ่งจริงๆแล้วน้ำมันเป็นสารอาหารจำเป็น หนึ่งในอาหารหลักห้าหมู่ มีประโยชน์คือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย

เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ ช่วยละลายวิตามินและแร่ธาตุเช่นวิตามินเอ ดี อี เค เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้งานได้

ถ้าสามารถเลือกทานน้ำมันที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ ปรุงด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาวได้

ชนิดของกรดไขมัน

น้ำมันชนิดต่างๆจะประกอบด้วยกรดไขมัน 4ประเภท ซึ่งแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบทั้ง4ในปริมาณที่แตกต่างกันไป

1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid), (SFA)

เป็นกรดไขมันที่ไม่ควรทานในปริมาณมากเพราะ มีส่วนทำให้เพิ่มไขมันเลว (LDL)ในเลือดให้สูงขึ้นได้ มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง

แต่ก็มีประโยชน์ช่วยเรื่องการเติบโตของเซลล์ในร่างกาย และยังเป็นส่วนประกอบในสารสำคัญเช่นฮอร์โมนอีกด้วย

กรดไขมันอิ่มตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูง เหมาะแก่การนำไปทอด

ส่วนมากพบในไขมันที่ได้จากสัตว์เช่นไขมันหมู หนังไก่ นม เนย ไข่แดง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid), (MUFA)

เป็นกรดไขมันดีที่ร่างกายต้องการ มีส่วนเพิ่มไขมันดีในร่างกาย (HDL )และลดไขมันเลว (LDL )ช่วยควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล

คุณสมบัติทนความร้อนได้น้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัว(SFA)เหมาะสำหรับผัด หรือทานสดเลยจะยิ่งดี

น้ำมันที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว(MUFA)มากได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันอโวคาโด

3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid) (PUFA)

เป็นไขมันดีมีประโยชน์ เช่นเดียวกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ถูกใช้ในการสร้างเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท ในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

เป็นกรดไขมันที่ทนความร้อนได้น้อยที่สุด เหมาะสำหรับผัดที่ใช้ความร้อนไม่มาก หรือรับประทานสดๆจะยิ่งดี

น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(PUFA)อยู่มากเช่น น้ำมันถั่วเหลืองไม่ผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนส น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน, น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันละหุ่ง
PUFA ยังมีสารที่สำคัญต่อร่างกายที่ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตกและตีบเฉียบพลัน ลดความดันโลหิต คือ

3.1 Omega-3 Fatty Acid พบมากในไขมันจากปลาเช่นปลาแซลมอล, แมกเคอเรล, ซาร์ดีน, Flaxseeds, วอลนัท
3.2 Omega-6 Fatty Acid พบมากในน้ำมันละหุ่ง, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน, วอลนัท

4. ไขมันทรานส์ (Trans Fats)

เป็นไขมันเลวที่ไม่ควรรับประทาน เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนน้ำมันให้เป็นของแข็งเพื่อเพิ่มความอร่อยของอาหาร เป็นไขมันที่มนุษย์สร้างขึ้นมา

พบมากในมาการีน เบเกอรี่ เค้ก มันฝรั่งทอดกรอบ ไขมันทรานส์ทำให้เพิ่มปริมาณไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี(HDL) ในเลือด
มีผลทำให้เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆเช่นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และเบาหวาน

เราจะเห็นได้ว่าการบริโภคน้ำมัน มีผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆโดยเฉพาะโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง จึงเกิดคำถามว่าเราควรจะเลือกน้ำมันสำหรับคนที่เสี่ยงหรือเป็นโรคนี้อยู่แล้วอย่างไร เรามีคำตอบให้ด้านล่างนี้ค่ะ

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตประชากรมากที่สุด พบว่าทุก ๆ 2 วินาที จะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน

เป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมากที่ อวัยวะส่วนสำคัญที่สุดของร่างกายอย่างหัวใจ ที่ต้องทำงานหนักตลอดช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควรจะเป็น สังเกตจากอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตประชากรก่อนวัยอันควร มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

Photo Credit: blogbold Flickr via Compfight cc

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ได้ออกมาแนะนำให้บริโภคไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมัน MUFA สูง เพราะจะช่วยลดคลอเรสเตอรอลตัวร้าย (LDL – C) ในร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ตราสัญลักษณ์ อาหารรักษ์หัวใจ คือ “คำตอบ”

ถ้าเป็นสมัยก่อนแทบจะเป็นไม่ได้เลยที่เราจะทราบองค์ประกอบของน้ำมันโดยละเอียดอย่างที่ องค์การอนามัยโลก (WHO)แนะนำ ทำให้การเลือกซื้อดูยุ่งยาก

แต่ปัจจุบันมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับภาควิชาโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการ “อาหารไทย หัวใจดี” มีตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” เฉลิมหล้า ๗๒ พรรษา มหาบรมราชินี สำหรับชาวไทย

มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ประชาชนเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจของตนเองได้ง่ายและรวดเร็ว และเพื่อให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ได้เปิดมิติใหม่ในการจำหน่ายสินค้า ที่มีตรารับรองแบบสากล

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” นี้ บ่งบอกว่า ในอาหารมีชนิดของกรดไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือ เกลือไม่มากหรือปริมาณน้ำตาลไม่มาก หรือ มีใยอาหารสูง เมื่อบริโภคในปริมาณที่ให้พลังงานเหมาะสม จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

โดยตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” จะมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ พร้อมเครื่องหมายถูก และอักษรที่ฐานของวงกลม
ระบุว่า มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 2 แบบ คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ตราสัญลักษณ์ อาหารรักษ์หัวใจ (Heart Logo)

โดยการจะได้มาซึ่ง ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” นี้ ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต้องส่งผลิตภัณฑ์นั้นๆให้กับมูลนิธิฯตรวจสอบและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (แบบปิดตา)

เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าสัดส่วนและองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด จะได้รับการอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ จาก มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อนการจัดจำหน่าย

ลักษณะการติดป้ายสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” จะเป็นตามตัวอย่างดังรูป

Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

Emerald เป็นแบรนด์น้ำมันคุณภาพที่ได้ผ่านการตรวจสอบ และรับรองตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” อย่างถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมี 3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ ให้เลือกใช้ง่ายๆตามวิธีการปรุงและรับประทาน ซึ่งทั้ง 3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ เป็นน้ำมันผสม เพื่อให้มีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัว (SFA), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เหมาะสำหรับช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

และที่สำคัญ น้ำมันผสมทั้งสามสูตรนี้ไม่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ และสารกันหืนที่เป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

1. Nutri Blend

น้ำมันปาล์มโอเลอิน ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันคาโนลาผ่านกรรมวิธี ทำให้จุดเดือดของน้ำมันต่ำลง ทำให้ใช้ความร้อนน้อยลงในการปรุงอาหารถ้าเทียบกับน้ำมันปาล์มปกติ จึงเหมาะสำหรับการปรุงอาหารประเภททอดและผัด

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:1.7:0.6 เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย

สัดส่วนที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ SFA:MUFA:PUFA คือ 1:1.5:1

 

2. Stir-Frying Blend

น้ำมันคาโนลา ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันผ่านกรรมวิธี สามารถทนความร้อนได้ปานกลาง เหมาะสำหรับทำอาหารประเภทผัด มีส่วนช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:6.5:4  เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย  มีวิตามิน E 40% Thai RDI โดยน้ำมันสูตรนี้ มี omega-3 สูงกว่าน้ำมันถั่วเหลืองถึง12%

สัดส่วนที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ SFA:MUFA:PUFA คือ 1:1.5:1

 

3. Salad Oil Blend

น้ำมันคาโนลา ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันถั่วเหลืองผ่านกรรมวิธี เหมาะสำหรับทำน้ำสลัด มายองเนส หรือ ราดบนผักสลัดแล้วปรุงรสตามใจชอบ

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:6:3.5   เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย มีวิตามิน E15% Thai RDI และ มี omega-9 สูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง 2 เท่า และมากกว่าน้ำมันทานตะวัน 60 %

สลัดผักสด เมนูยอดนิยม สำหรับผู้ดูแลสุขภาพ และผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก การทานสลัดผักสด นิยมเลือกผักใบเขียว ผักสีแดง หรือส้ม และราดด้วยน้ำสลัด หรือ น้ำมันมะกอก

เพื่อให้มื้ออาหารของคุณไม่ฝืดคอ และไร้รสชาติจนเกินไป

แต่รู้หรือไม่ น้ำสลัด ที่ขายกันตามท้องตลาดนั้น ใช้น้ำมันที่เหมาะสำหรับทอด ซึ่งมี PUFA สูง เพื่อให้ทนต่อความร้อน ซึ่งสารตัวนี้จะไปขัดขวางการเผาผลาญไขมันร่างกาย

 

ทางเราจึงขอแนะนำให้เลือกใช้ น้ำมัน Emerald สูตร Salad Oil Blend ซึ่งมีสมดุลของกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย ในการทำน้ำสลัด หรือมายองเนส เพียงเท่านี้ก็จะได้รับประทานสลัดผักสด ได้ครบทุกคุณค่า

 

หรือใครที่อยากทานสลัดราดน้ำมัน แต่ลองใช้น้ำมันมะกอกแล้ว พบว่ากลิ่นของน้ำมันมะกอกนั้นกลับแรงและรบกวนมื้ออาหารของคุณ เราก็ขอแนะนำเป็นให้ราดน้ำมัน Emerald สูตร Salad Oil Blend ลงในผักสดแล้วปรุงรสตามใจชอบ โดยน้ำมันสูตรนี้มี โอเมกา 9 ใกล้เคียงกับน้ำมันมะกอกอีกด้วย

ที่ผ่านมาคนส่วนมากยังสับสนและไม่ทราบถึงการเลือกใช้น้ำมันที่ถูกต้องเพราะเรื่องประเภทและสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุลมีรายละเอียดมากพอสมควร รวมถึงยังไม่รู้จักตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” สักเท่าไหร่

ปัจจุบัน น้ำมันตรา Emerald ที่ได้ผลิตน้ำมันทั้ง3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ ที่ตอบโจทย์ทุกการปรุงอาหารและดีต่อสุขภาพ โดยได้ผ่านการตรวจสอบอย่างมีมาตรฐาน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หากทานในปริมาณที่เหมาะสม  เข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตครั้งต่อไปอย่าลืมดูฉลากก่อนการเลือกซื้อ แค่สังเกตตราสัญลักษณ์รูปหัวใจ ตัวช่วยง่ายๆที่ทำให้คุณสามารถซื้อน้ำมันเพื่อสุขภาพมาไว้คู่ครัวค่ะ

ที่มา:
http://bit.ly/heart-disease-facts
http://bit.ly/heartdiseasethai
http://bit.ly/cardiovascular-disease
http://bit.ly/truth-about-fats
http://bit.ly/omega369ratio

Related Posts

ไขข้อข้องใจ “โซเดียม” กับปัญหาการลดน้ำหนัก
Diet, Food

ไขข้อข้องใจ “โซเดียม” กับปัญหาการลดน้ำหนัก

More
วิธีทำโยเกิร์ต (Homemade YOGURT) ง่ายๆแบบจับมือทำ
Food

วิธีทำโยเกิร์ต (Homemade YOGURT) ง่ายๆแบบจับมือทำ

More

Tags

detox Paleo Diet Panic Disorder กลิ่นปาก การทำงาน การนอน การรักษาสิว การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย กินคลีน ควบคุมน้ำหนัก ความจำ ความเครียด ดูแลผิว ธรรมะ น้ำผึ้ง น้ำมันมะกอก บำรุงผิว ปัญหาสิว ผิวขาว ผิวหนัง มะขามป้อม มะเร็ง รักษาสิว รักษาสุขภาพในช่องปาก ลดความอ้วน ลดน้ำหนัก สมอง สมุนไพร สิว สุขภาพ สุขภาพจิต สุขภาพหู สูตรขัดผิว สูตรรักษาสิว หน้าใสไร้สิว หวัด ออกกำลังกาย อาหาร อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ โรคกระดูกพรุน โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน ไมเกรน

COPYRIGHT NOTICE

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาต
ของครีเอทีฟคอมมอนส์
แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า
4.0 International.

Disclaimer : บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Copyright © 2023 organicbook 
  • Terms & Privacy|
  • About us|