นับว่าเป็นข่าวกันมาซักพักใหญ่สำหรับ ไวรัสร้ายแรงที่กำลังในประเทศเกาหลี
นั่นก็คือ ไวรัสเมอร์ส (MERS) ซึ่งล่ามีข่าวว่าพบผู้ป่วยหนึ่งรายแล้วที่ประเทศไทย
เพื่อความไม่ประมาทเรามาทำความรู้จักเจ้าไวรัสชนิดนี้เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุ, วิธีการสังเกตผู้ที่อาจจะเข้าข่ายว่าจะเป็น, วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษา
อะไรคือไวรัสเมอร์ส (MERS)
ไวรัสเมอร์ส (MERS) มีชื่อเต็มว่า Middle East Respiratory Syndrome (MERS) มีสาเหตุหลักมาจากมาจากเชื้อไวรัส สายพันธุ์ “โคโลน่าไวรัส”
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้, ไอ และหายใจติดขัด ทำให้มีการติดเชื้อรุนแรงที่ระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่า จากจำนวนผ้ป่วยทั้งหมด 10 คน จะมี 3-4 คน ที่เสียชีวิต มีรายงานว่าคน ไวรัสชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศ จอร์แดน และซาอุดิอาระเบีย
ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อ ไวรัสเมอร์ส (MERS)
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีอาการขัดข้องที่ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
- มีไข้สูง ตัวร้อน
- ไอ
- หายใจติดขัด
ในบางคนอาจพบอาการของระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และยังมีรายงานว่าผู้บางคนอาจจะมีอาการแทรกซ้อน ปอดบวมและไตวายร่วมด้วย
ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ โดยปกติจะแสดงอาการภายใน 5-6 วัน หรือบางคนอาจจะแสดงอาการภายใน 2-14 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ
วิธีการป้องกัน ไวรัสเมอร์ส (MERS) – Prevention
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ
- ใส่หน้ากากปิดจมูก
- หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ไม่สะอาดสัมผัส ตา จมูก และปาก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้มีอาการที่คาดว่าจะติดเชื้อ
- ทำความสะอาด อุปกรณ์หรือสิ่งของที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ เช่น กลอนประตู ลูกบิดประตู
ลักษณะการแพร่เชื้อของ ไวรัสเมอร์ส (MERS) – Transmission
มีรายงานบอกว่า ไวรัสเมอร์ส (MERS) แพร่กระจายเชื้อผ่านสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจเช่น น้ำมูก การไอ และการจาม เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจทั่วไป
ผู้ป่วยที่พบเกือบทั้งหมดคือ คนที่อาศัยอยู่ หรือเคยเดินทางไปประเทศในแถบคาบสมุทรอาระเบีย ด้วยคนที่ติดเชื้อส่วนน้อยเป็นคนที่สัมผัส คนที่เดินทางมาจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาระเบีย
การรักษา ไวรัสเมอร์ส (MERS)
รายงานล่าสุดพบว่ายังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาไวรัสชนิดนี้ได้ แต่ สถาบันด้านสุขภาพที่อเมริกา( The U.S. National Institutes of Health ) ก็กำลังอยู่ในช่วงค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนอยู่
สำหรับผู้ที่คาดว่าติดเชื้อ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการที่อาจจะเกิดรุนแรงมากกว่าเดิม และป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะไปกระทบกับอวัยวะส่วนที่สำคัญ
ที่มา http://www.cdc.gov/