ไวรัสนิปาห์ (NIPAH) โรคระบาดอันตรายถึงชีวิต

เมื่อวันที่ 22 พค. 2561 มีรายงานข่าวจากทั้งสำนักข่าว Reuter และ BBC เรื่องการระบาดของไวรัสนิปาห์ ที่เมืองโคชิโคด รัฐเกรละ ทางภาคใต้ของอินเดีย มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 10 คน

มีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เชื้อไวรัสนิปาห์เป็น 1 ใน 10 เชื้อโรคในโลกสมัยใหม่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ทั้งยังทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตถึงร้อยละ 70 และขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องไวรัสชนิดนี้

ไวรัสนิปาห์ (NIPAH) คืออะไร มีอาการอย่างไร

คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งพบระบาดครั้งแรกเมือปี พศ. 2541-2542 ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตอนนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 40-50 % ของผู้ติดเชื้อ
โดยผู้ที่ติดเชื่อจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ หายใจเร็ว หายใจลำบาก เมื่ออาการหนักขึ้นจะมีอาการของระบบประสาทด้วยเช่น วิงเวียนศรีษะ เดินโซเซ ซึม สับสน ชัก จนถึงสมองอักเสบและเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุและการแพร่กระจายเชื้อ


ตามธรรมชาติแล้วเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายของค้างคาวกินผลไม้ซึ่งไม่แสดงอาการป่วย เมื่อสัตว์อื่นๆเช่น หมู สุนัข แมว ม้า แพะ แกะ และคน สัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระของค้างคาวหรือสัตว์ที่ติดเชื้อนี้ ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้

การรักษาและการป้องกัน

เมืื่อสงสัยว่ามีอาการจากไวรัสนิปาห์ ควรรีบพบแพทย์ทันที
และหากต้องเดินทางไปพื้นที่ระบาดของโรคควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงทานผลไม้ที่อาจสัมผัสกับน้ำลายหรือปัสสาวะค้างคาวกินผลไม้ เช่น อินทผลาลัมสด

โชคดีที่ไวรัสนิปาห์ยังไม่เคยระบาดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันการเดินทางติดต่อกันทำได้ง่ายขึ้น ทำให้การแพร่ระบาดเกิดง่ายตามไปด้วย  หากช่วงนี้มีแผนเดินทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปแถบตอนใต้ของประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างเมืองเกรละ หรือบริเวณใกล้เคียง ควรเตรียมตัวป้องกันจะดีที่สุด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ค่ะ

Related Posts