ไขมันพอกตับชื่อโรคที่ไม่คุ้นหู แต่ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่บ่งบอกถึงสุขภาพได้
โดยไขมันพอกตับคือโรคที่เกิดจากการสะสมของไขมันในตับที่มากเกินไปจนทำให้ตับทำงานผิดปกติ เอกสารทางการแพทย์พบว่าโดย 20% ของคนที่เป็นโรคอ้วนมักจะเป็นโรคไขมันพอกตับ รวมถึงผู้ที่มีดัชนีมวลกาย BMI 25-30 หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากนั่นเอง
เครื่องดื่มของแอลกอฮอร์จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงใหญ่ๆที่ก่อให้เกิดโรค หากดื่มเป็นประจำและมากเกินไปก็ การดื่มน้ำหวานแทบจะแทนน้ำเปล่าก็เช่นกัน การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และสภาวะขาดอาหารสามารถทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้รวมถึงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป
ทำให้ไขมันไปสะสมที่ตับในปริมาณจนตับนำมาใช้ไม่ทัน ก็ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับต่อไป โดยไขมันพอกตับจะแบ่งความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรก เริ่มมีอาการสะสมไขมันที่ตับมากกว่าปกติ แต่ยังไม่ส่งผลเสียใดๆ
- ระยะที่สอง เริ่มพบการอักเสบที่ตับ หากไม่รีบรักษาหรือดูแลตัวเองและปล่อยให้เป็นนานถึง 6 สัปดาห์จะทำให้เกิดอาการ ตับอักเสบเรื้อรัง
- ระยะที่สาม เซลล์ตับจะค่อยๆถูกทำลาย เพราะการอักเสบมีความรุนแรงขึ้น และเกิดพังผืดขึ้นในตับ
- ระยะที่สี่ ตับไม่สามรถทำงานได้อย่างปกติอีกต่อไป เพราะเซลล์ตับถูกทำลายลงไปมาก อาจทำให้เปลี่ยนเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับในที่สุด
เนื่องจากโรคนี้จะไม่แสดงอาการที่แน่ชัดจึงมึกจะตรวจพบโดยการตรวจพบตรวจเลือด ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอัลตราซาวด์ การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
วิธีป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกากใยสูง ไขมันต่ำและให้พลังงานต่ำ
- ควรออกกำลังเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควรเน้นการออกกำลังกายที่มีแรงต้านต่ำหรือมีแรงกระแทกน้อย เช่น เดินเร็ว เต้นแอโรบิก เป็นต้น
- หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่จำไว้ว่าควรลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงและผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรดูแลสุขภาพให้ดี ทานยาและปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ควรรับเข้าการตรวจสุขภาพประจำปี