รับมือภาวะเครียด ..เสี่ยงโรคหอบจากอารมณ์ Hyperventilation Syndrome

หากใครได้ยินชื่อของ “โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome)” อาจจะดูไม่ค่อยคุ้นหูเท่าใดนัก

แต่ทว่าโรคนี้เป็นโรคที่พบได้มาก เรียกกันสั้นๆ ว่าโรคไฮเปอร์หรืออาการหอบทางอารมณ์หรือกลุ่มอาการที่หายใจมากเกินไป

มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะทางความเครียดทางอารมณ์ ส่งผลให้การหายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดการหายใจแบบลึกบ้างตื้นบ้างสลับกันไปมา

หากเป็นในคนปกติการหายใจในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีความโกรธ หงุดหงิด โมโหหรือรู้สึกเครียดอย่างรุนแรง แต่เมื่ออารมณ์ทุเลาลงก็จะหายไปได้เองตามธรรมชาติ ต่างจากผู้ป่วยโรคนี้อย่างสิ้นเชิง

photo credit: bottled_void

photo credit: bottled_void

ลักษณะของการเกิดอาการ

เมื่อผู้ป่วยมีอาการหอบหายใจแบบผิดปกติ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการหมุนเวียนของออกซิเจนในเลือด ผู้ป่วยจะหอบหายใจแบบเร็วและลึกเป็นเวลานานติดต่อกันจนรู้สึกว่าตัวเองหายใจไม่ทัน

ผลกระทบต่อมาคือภาวะการรับเอาออกซิเจนในเลือดจะผิดปกติ มีผลต่อค่าสารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในเลือด อาการก็จะเริ่มแสดงออกด้วยลักษณะทางกายภายนอกให้เห็น หลังจากที่มีอาการเครียดหรือถูกกระตุ้นอยู่ด้วยความรู้สึกกังวล โกรธและโมโหอย่างสุดขีด

ผู้ป่วยจะเริ่มหายใจได้ลำบากขึ้น รู้สึกหายใจไม่ทัน เวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น จากนั้นมือและเท้าจะเริ่มเกร็ง สังเกตได้ว่านิ้วมือจะจับกับเป็นจีบ ตามมาด้วยอาการชาตามมาปากและบริเวณนิ้วมือ ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะคาร์บอนได้ออกไซต์ในเลือดต่ำ การหมุนเวียนทำได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้สมองไม่สามารถรับเลือดไปหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ

เหตุใดการหายใจที่มากเกินไปจึงทำให้เกิดความผิดปกติ?

การหายใจโดยปกติคือการรับเอาออกซิเจนเข้าไป ดังนั้นการหายใจเร็วและหอบถี่จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่มากเกินไป จากปริมาณออกซิเจนที่เคยสมดุลก็กลายเป็นว่าเลือดเต็มไปด้วยปริมาณออกซิเจนเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็น กระทบต่อการทำลายคาร์บอนไดออกไซต์ออกจากร่างกาย

เมื่อปริมาณของก๊าซชนิดนี้ลดลงมากเกินไปก็ส่งผลทำให้เสียสมดุลในการทำงาน ระดับค่าความเป็นกรดด่างจึงเปลี่ยนแปลงไป ความเป็นกรดของเลือดไม่เพียงพอ มันจึงเป็นเหตุให้ผู้ป่วยตามมาด้วยอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น

เมื่ออาการดังกล่าวเกิดขึ้น ยิ่งผู้ป่วยพยายามทำให้ตัวเองหายใจได้เร็วขึ้นเพื่อให้รู้สึกอิ่ม จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นชั้นเยี่ยมส่งผลให้อาการต่างๆ หนักมากขึ้นเรื่อยๆ หากอาการยังคงต่อเนื่องอยู่ เส้นเลือดที่เข้าไปเลี้ยงสมองจะเกิดการหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถส่งตัวเองไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ

ผู้ป่วยจะเริ่มเข้าสู่สภาวะง่วงและหลับได้ในที่สุด จากนั้นอาการจะเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปัจจัยกระตุ้นถูกทำลายไป การหายใจจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เส้นเลือดที่หดตัวก็จะเริ่มคลาย ระบบไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลและหลังจากผู้ป่วยฟื้นขึ้นมาก็จะหายไปได้เองในที่สุด

ขั้นตอนในการรักษา

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบขึ้นมากระทันหัน การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ผู้ป่วยใช้ถุงกระดาษครอบปากเพื่อรักษาปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ให้มากขึ้นในเลือด ป้องกันไม่ให้ปริมาณออกซิเจนมากเกินไป หรือบางรายอาจจะใช้วิธีคลุมโปงผ้าห่มเพื่อให้คาร์บอนไดออกไซต์ไหลเวียนอยู่ภายในเช่นเดียวกับการใช้ถุงกระดาษ

ส่วนวิธีอื่นๆ คือการฝึกลมหายใจตัวเองด้วยวิธีการทำสมาธิ บังคับลมหายใจเข้าออกให้ลึกและยาวอย่างช้าๆ หรือใช้วิธีกลั้นลมหายใจเอาไว้ 1-3 วินาทีแล้วค่อยปล่อยออกมา จะช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีในเลือดเสียสมดุลมากจนเข้าสู่ภาวะมือจีบเท้าจีบ

ผู้ป่วยที่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคหอบจากอารมณ์จะต้องหมั่นดูแลตัวเองด้วยการป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยการรักษาคือการรักษาที่จิตใจของตัวเอง มั่นป้องกันไม่ให้ความโกรธ โมโห หรือความตึงเครียดเข้ามาเป็นตัวกระตุ้นได้อีก ทางที่ดีลองหันมาฝึกสมาธิ สวดมนต์ เข้าวัด ทำงานอดิเรก รู้จักแบ่งเวลาอยู่กับตัวเองให้มากขึ้นเพื่อคอยปรับลมหายใจของตัวเองให้ยาวและลึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเกิดอาการขึ้นมาจะได้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดีขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ

อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีร่างกายปกติ และไม่ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดโรคอื่นๆ แต่ผู้ป่วยก็ต้องมั่นปรับสภาพจิตใจของตัวเองเป็นอันดับแรก จึงจะช่วยทำให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

Related Posts