อันตรายทางอ้อมที่มาพร้อมกับการทำงานผิดปกติของ “ต่อมไทรอยด์”

ไทรอยด์ (Thyroid gland) คืออวัยวะชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทของต่อมไร้ท่อ

มีรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่บริเวณช่วงลำคอด้านในส่วนหน้า เชื่อมต่อกับส่วนของกระดูกไทรอยด์และลูกกระเดือก (ในผู้หญิงก็มีอวัยวะนี้เช่นเดียวกับผู้ชาย เพียงแค่มองไม่เห็นจากภายนอกได้ชัดเท่านั้น)

ไทรอยด์จะแบ่งออกเป็น 2 กลีบซ้ายและขวา มีส่วนเชื่อมต่อกันด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “อิสธ์มัส” โดยทั่วไปขนาดของต่อมไทรอยด์ที่โตเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่จะมีความยาวของแต่ละกลีบอยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร และหนา 0.8-1.6 เซนติเมตร ตัวของต่อมไทรอยด์แม้จะอยู่บริเวณด้านในลำคอ

แต่ก็จะไม่สามารถใช้มือคลำหรือมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยผ่านทางช่องปาก

Thyroide

ระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์

สำหรับต่อมไทรอยด์จะมีฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมาทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ไตรไอโอโดไธโรนีน ไทรอกซีน และแคลซิโทนิน ในแต่ละฮอร์โมนล้วนมีความสำคัญในการทำงานให้ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติทั้งสิ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนสองชนิดแรกที่มักได้รับการกล่าวถึงมากเป็นพิเศษ

สำหรับคือ ไตรไอโอโดไธโรนีนและไทรอกซีน จะมีความสำคัญมากที่สุด หน้าที่หลักๆ ของพวกมันคือการควบคุมระบบเผาผลาญพลังงานของอาหารด้วยกระบวนการที่เชื่อมโยงกับระบบออกซิเจน(เมตาบอลิซึ่ม)

ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ต่างๆ ได้รับพลังงาน เจริญเติบโตและทำหน้าที่ของมันได้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้เมื่อเกิดบาดแผล ฮอร์โมนจะเข้าไปช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอให้สามารถหายกลับมาเป็นปกติโดยไว ควบคุมระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ และรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่

ส่วนการทำงานของฮอร์โมนตัวที่สามนั้นมีส่วนช่วยในการควบคุมแคลเซียมและเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ภาวะสมดุล จะเห็นได้ว่าฮอร์โมนทั้งสามชนิดที่มีต่อมไทรอยด์เป็นตัวสร้าง ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบต่างๆ ของร่างกายอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้

และเมื่อใดก็ตามที่ต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ไม่สามารถทำงานในการสร้างฮอร์โมนได้ดังเดิม สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบที่รุนแรง และสามารถทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ เกิดภาวะที่ผิดปกติและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ค่ะ

ความผิดปกติที่พบได้ของต่อมไทรอยด์

ความผิดปกติที่พบได้ทั่วไปของต่อมไทรอยด์ และส่งผลให้มันทำงานผิดปกติมีตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของขนาดที่ใหญ่ขึ้นจากเดิม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “โรคคอพอก” เป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ

ลักษณะที่พบเห็นคือบริเวณคอจะบวมขึ้นมาอย่างน่ากลัว หรือมีปุ่มขนาดใหญ่ขึ้นมาหลายๆ ปุ่มรวมกัน ทำให้หลายคนเชื่อว่าเกิดขึ้นจากการขาดธาตุไอโอดีน แต่สำหรับในทางการแพทย์แล้ว ภาวะที่เกิดขึ้น

หากสังเกตให้ดีลักษณะของผิวคอที่โตจะมีความแตกต่างกันออกไป บางรายมีปุ่มขึ้นเป็นก้อนเดียวใหญ่ๆ ตรงกลาง บางคนเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งของลำคอ และมักจะมีขนาดหลายๆ ก้อนรวมกันมากกว่า 1 ก้อน

ลักษณะที่เกิดขึ้นอาจจะดูน่ากลัวในสายตาของผู้ป่วย ทว่าในความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นผิดขนาดยังทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนได้ตามปกติเช่นเดิม โดยไม่มีอาการอะไรแสดงให้เห็นนอกจากความผิดปกติภายนอก ทว่าในบางรายก็มีอาการแทรกซ้อนขึ้นมา

ไม่ว่าจะเป็นอาการหายใจลำบากขณะนอน กลืนอาหารลำบาก หรือบางรายก็มีภาวะเลือดออกภายในต่อมไทรอยด์ขึ้นมาได้ หากพบความผิดปกติเหล่านี้ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาโรคอื่นๆ ที่แทรกซ้อนต่อไป โดยการนำเอาชิ้นเนื้อของต่อมไทยรอยด์ไปตรวจเพื่อหาสาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะพบได้ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ

1.ต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานน้อยเกินไป

ในกลุ่มนี้เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ตามที่ต้องการ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือระดับฮอร์โมนที่อยู่ในเลือดต่ำเกินมาตรฐาน โดยทั่วไปอาจจะไม่มีอาการที่รุนแรง แต่มักจะส่งผลต่อสุขภาพทางจิตที่แสดงออกมาทางกาย จากคนที่เคยกระปรี้กระเปร่าจะรู้สึกว่าตัวเองเฉื่อยชาลง เหนื่อยง่าย ง่วงนอนบ่อย ขี้เกียจ ซึมเศร้า คิดอะไรไม่ค่อยออก ไม่ค่อยมีสมาธิ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การคิดการพูดช้าลง หายใจติดขัด รู้สึกเหมือนหายใจได้ไม่เต็มท้อง มีอาการเกี่ยวกับระบบการขับถ่ายของเสีย ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามอวัยวะภายในร่วมด้วยได้

2.ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

กรณีนี้จะต่างจากชนิดแรก คือต่อมไทรอยด์จะทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลตรงข้ามกันคือจะทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือจะมีภาวะน้ำหนักลดลงอย่างเฉียบพลัน แต่เกิดอาการหิวบ่อย มือสั่น ใจสั่น มีภาวะเครียด รู้สึกกระวนกระวายใจ ไม่มีสมาธิ เหงื่อออกง่าย ขี้ร้อน นอนไม่ค่อยหลับ เกิดภาวะท้องเสีย อุจจาระบ่อยขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเวลา 2-3 ครั้ง ในผู้ชายมักพบอาการแขนขาอ่อนแรง ส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาเรื่องรอบเดือนผิดปกติ มาน้อยหรือเลื่อนออกไปและมาแบบกระปริดกระปรอยเป็นช่วงๆ นอกจากนี้ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจจะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง และตามมาด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

โรคปุ่มเนื้อที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์

โรคปุ่มเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมไทรอยด์ชนิดนี้ เป็นประเภทที่ไม่มีพิษและไม่ทำให้เกิดอันตราย อีกทั้งยังไม่ใช่เนื้องอกแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงลักษณะของปุ่มที่งอกออกมา แบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ แบบวอร์มโนดูล ปุ่มเนื้อที่เกิดขึ้นจากการจับตัวกันกับไอโอดีน มีเหตุมาจากที่ร่างกายขาดธาตุไอโอดีน ไม่มีอันตรายและไม่สร้างความเสียหายที่รุนแรงจนลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็ง

ชนิดโคลด์โนดูล เป็นเนื้องอกทั่วไปที่ไม่มีเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะสามารถหายไปได้เอง โดยส่วนใหญ่จะใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์ในการรักษา ทว่ายังมีโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นที่มันจะสามารถกระจายตัวเปลี่ยนตัวเองกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ สังเกตได้ว่าเมื่อทำการรักษาแล้วตัวปุ่มเนื้อยังไม่ยอมยุบตัวและเพิ่มขนาดมากขึ้น แพทย์จะทำการนำชิ้นเนื้อเข้ารับการตรวจเช็คเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ต่อไป

ส่วนชนิดสุดท้ายเรียกว่าฮอตโนดูล เป็นปุ่มเนื้อที่มีโอกาสพบได้น้อย ทว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีความเสี่ยงที่จะแปรสภาพเป็นมะเร็งได้ง่าย เกิดขึ้นจากความแปรปรวนของการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป หากพบจะต้องรีบทำการตรวจรักษาเพื่อแยกชิ้นเนื้อหาเซลล์มะเร็งโดยด่วน

การเกิดขึ้นของมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)

มะเร็งต่อมไทรอยด์มักลุกลามมาจากความผิดปกติของการทำงานในระบบฮอร์โมนที่มากเกินไปซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุกระตุ้นที่แน่ชัดว่ามาจากอะไร แต่เชื่อกันว่ามาจากการได้รับรังสีบางชนิดในวัยเด็กหรือเกิดการเติบโตไม่เต็มที่ของต่อมไทรอยด์ เป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทยและมักพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ โอกาสเสี่ยงนี้ยังพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายหลายเท่าตัว

ตัวมะเร็งที่เกิดขึ้นจะพบว่ามีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถใช้มือคลำสัมผัสได้ ลักษณะเหมือนมีก้อนเนื้อแข็งๆ อยู่ภายในลำคอ เมื่อเป็นในระยะลุกลามจะส่งผลต่อระบบการทำงานของต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต และแพร่กระจายเซลล์มะเร็งเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงได้หากตรวจพบว่าอยู่ในระยะที่รุนแรงมากแล้ว

ลักษณะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ค่อยรู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากอาการที่ไม่รุนแรง และบางชนิดยังไม่มีอาการแสดงออกให้เห็น อย่างไรก็ตามการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ถือว่าไม่ใช่เรื่องน่ากลัวและสามารถรักษาให้หายได้ในไม่ช้า รวมไปถึงโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งยังไม่ลุกลามไปมากนัก

ดังนั้นทางที่ดีหากพบอาการผิดปกติที่กล่าวมาข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงจนทำการรักษาได้ยาก เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะเรื้อรังขึ้นมา ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่โรคจะกลับมาเป็นได้อีกต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

Related Posts