ภาวะปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อย รองลงมาจากอาการปวดหลัง เนื่องจากคออวัยวะที่บอบบาง และต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา
สาเหตุของอาการปวดคอ อาจจะมาจากหลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่ที่พบเจอเช่น
1. จากการบาดเจ็บเช่นอุบัติเหตุทางรถยนต์ตกจากที่สูง
2. ภาวะข้อเสื่อมทำให้มีหินปูนเกาะที่กระดูกต้นคอและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นประสาทคอเป็นผลทำให้เกิดอาการปวดร้าวขาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย
3. จากการอักเสบติดเชื้อและเนื้องอก
4. จากท่าทางของคอที่ไม่ถูกต้องเช่นอยู่ในท่าก้มหรือเงยคอเป็นระยะเวลานาน
5. ความเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
ท่าการทำกายภาพบำบัด บริหารคอ
ก้มหน้า ใช้มือประสานกันที่หน้าผาก ออกแรงต้านกับแรงที่พยายามจะก้มหน้า
เงยหน้า ใช้มือประสานกันที่บริเวรท้ายทอย ออกแรงต้านกับแรงที่พยายามจะเงยหน้า
เอียงคอขวาและซ้าย
ใช้มือขวาวางทางด้านข้างของศีรษะออกแรงต้านกับแรงที่พยายามจะเอียงคอมาทางขวา ทำสลับกันโดยใช้มือซ้ายต้านการเอียงคอมาทางซ้าย
หันหน้าขวาและซ้าย
ใช้มือขวาวางบริเวณแก้มด้านขวา ออกแรงต้านกับแรงที่พยายามจะหันหน้ามาทางขวา ทำสลับกันโดยใช้มือซ้ายต้านหันหน้ามาทางซ้าย
การยือกล้ามเนื้อคอ
กล้ามเนื้อคอและบ่าด้านซ้าย
ใช้มือขวาโอบจับศีรษะทางด้านซ้าย แล้วดึงศีรษะเอียงมาทางขวา
กล้ามเนื้อคอและบ่าด้านขวา
ใช้มือขวาโอบจับศีรษะทางด้านขวา แล้วดึงศีรษะเอียงมาทางซ้าย
กล้ามเนื้อหันหน้าด้านซ้าย
ใช้มือขวาบริเวณคางทางด้านซ้าย แล้วดึงหน้ามาทางขวา
กล้ามเนื้อหันหน้าด้านขวา
ใช้มือขวาบริเวณคางทางด้านขวา แล้วดึงหน้ามาทางซ้าย
กล้ามคอด้านหลัง
ใช้มือประสานกันบริเวณท้ายทอย แล้วดึงศีรษะลงในท่าก้ม
แต่ละท่าทำค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ
ข้อแนะนำในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขอาการปวดคอ
-ทำจิตใจให้สดชื่น อย่าให้เกิดความเครียดเป็นเวลานาน
-นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
-พักการใช้คอในกรณีที่มีอาการปวดคออย่างเฉียบพลัน และใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการปวด เช้าเย็นครั้งละ 15 ถึง 20 นาที
– ส่วนในกรณีที่มีอาการปวดคอเรื้อรังให้ประคบด้วยความร้อนเช้าเย็นครั้งละ 15 ถึง 20 นาที
-รักษาท่าทางให้ถูกต้องในขณะทำงาน คืออย่าให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆควรมีการเปลี่ยนท่าทางเป็นระยะๆ
-หมั่นบริหารคออย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและให้คอเคลื่อนไหวได้ดี