โรคกระดูกพรุน กันไว้ก่อนจะสาย

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เนื้อกระดูกมีการทำลายมากกว่าสร้างขึ้นมาทดแทน ทำให้เกิดกระดูกบางลง หรือยังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกยุบลงหรือหักได้ง่าย

ส่วนมากจะพบที่บริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก และยิ่งในสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะพบมากเป็นพิเศษ อาการของโรคกระดูกพรุนก็คือ ปวดหลัง กระดูกหักและเปราะได้ง่าย

บางรายมีอาการหลังค่อมเตี้ย บางรายรายแรงถึงขึ้นเกิดกับกระดูกสันหลังทำให้พิการจนเดินไม่ได้

วิธีรับมือกับโรคกระดูกพรุน

ก็คือ ปรึกษาแพทย์เมื่ออายุเรามากขึ้น เราควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ ในส่วนของกระดูกนั้นเราควรตรวจมวลความหนาแน่นของกระดูก

เพื่อทราบผลขั้นแรกก่อนว่ามวลกระดูกเราอยู่ในระดับไหนเพื่อวางแผนบำรุงหรือรักษาต่อไปการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง มีอาหารหลายประเภทที่เป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี เช่น นม ผักคะน้า ถั่วแดง โยเกิร์ต  งาดำ ปลาตัวเล็ก เป็นต้น

[alert-note]โดยปกติแล้วคนที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1000 มิลิกรัม และในแต่ละมื้ออาหารจะมีแคลเซียมเพียง 300-500 มิลลิกรัมเท่านั้น[/alert-note]

คนส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติม เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง

ที่สำคัญอาหารเสริมประเภทแคลเซียมควรเลือกแบบเม็ดฟู่เพราะจะละลายน้ำและดูดซึมได้ง่ายกว่าแบบธรรมดา

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาต่างๆ รวมถึงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรานั้น ก็จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน เพราะมีผลทำให้ในลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

และที่สำคัญการใช้ยาประเภทสเตียรอยด์และยาลูกกลอนก็มีผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้นด้วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อและระบบหมุนเวียนทำงานได้ดีขึ้นแล้วยังส่งผลให้กระดูกแข็งแรงอีกด้วย

การออกกำลังกายควรเน้นแบบการลงน้ำหนัก เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว ลีลาศ ที่สำคัญควรออกกำลังอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนควรจะออกกำลังกายให้มาก

โรคกระดูกพรุน ถึงจะเป็นโรคที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือน แต่เราสามารถบำรุง ดูแลเสริมสร้างกระดูกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี

โดยเลือกรับประทานอาหารให้ครบหมู่ รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแค่นั้นก็เป็นการป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด ทั้งปลอดภัยและดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอนค่ะ

ใหม่กว่า เก่ากว่า