Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก อาจเพราะว่าค่ารักษาพยาบาลมีราคาแพงขึ้นทุกๆ ปี การหันกลับมาดูแลตัวเองจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

นอกจากการออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน ในบทความนี้จะขอเจาะลึกถึงเรื่องการเลือกชนิดของน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ วิธีปรุงที่เหมาะสำหรับน้ำมันแต่ละชนิด และแนะนำวิธีการดูฉลากเพื่อเลือกซื้อง่ายได้น้ำมันมาตราฐาน

น้ำมันมักถูกมองเป็นโทษมากจนเกินไป จนบางท่านอาจเข้าใจว่าไม่ควรทานน้ำมันเลยก็มี ซึ่งจริงๆแล้วน้ำมันเป็นสารอาหารจำเป็น หนึ่งในอาหารหลักห้าหมู่ มีประโยชน์คือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย

เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ ช่วยละลายวิตามินและแร่ธาตุเช่นวิตามินเอ ดี อี เค เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้งานได้

ถ้าสามารถเลือกทานน้ำมันที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ ปรุงด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาวได้

ชนิดของกรดไขมัน

น้ำมันชนิดต่างๆจะประกอบด้วยกรดไขมัน 4ประเภท ซึ่งแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบทั้ง4ในปริมาณที่แตกต่างกันไป

1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid), (SFA)

เป็นกรดไขมันที่ไม่ควรทานในปริมาณมากเพราะ มีส่วนทำให้เพิ่มไขมันเลว (LDL)ในเลือดให้สูงขึ้นได้ มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง

แต่ก็มีประโยชน์ช่วยเรื่องการเติบโตของเซลล์ในร่างกาย และยังเป็นส่วนประกอบในสารสำคัญเช่นฮอร์โมนอีกด้วย

กรดไขมันอิ่มตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูง เหมาะแก่การนำไปทอด

ส่วนมากพบในไขมันที่ได้จากสัตว์เช่นไขมันหมู หนังไก่ นม เนย ไข่แดง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid), (MUFA)

เป็นกรดไขมันดีที่ร่างกายต้องการ มีส่วนเพิ่มไขมันดีในร่างกาย (HDL )และลดไขมันเลว (LDL )ช่วยควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล

คุณสมบัติทนความร้อนได้น้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัว(SFA)เหมาะสำหรับผัด หรือทานสดเลยจะยิ่งดี

น้ำมันที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว(MUFA)มากได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันอโวคาโด

3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid) (PUFA)

เป็นไขมันดีมีประโยชน์ เช่นเดียวกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ถูกใช้ในการสร้างเยื้อหุ้มเซลล์ประสาท ในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

เป็นกรดไขมันที่ทนความร้อนได้น้อยที่สุด เหมาะสำหรับผัดที่ใช้ความร้อนไม่มาก หรือรับประทานสดๆจะยิ่งดี

น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(PUFA)อยู่มากเช่น น้ำมันถั่วเหลืองไม่ผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนส น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน, น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันละหุ่ง
PUFA ยังมีสารที่สำคัญต่อร่างกายที่ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตกและตีบเฉียบพลัน ลดความดันโลหิต คือ

3.1 Omega-3 Fatty Acid พบมากในไขมันจากปลาเช่นปลาแซลมอล, แมกเคอเรล, ซาร์ดีน, Flaxseeds, วอลนัท
3.2 Omega-6 Fatty Acid พบมากในน้ำมันละหุ่ง, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน, วอลนัท

4. ไขมันทรานส์ (Trans Fats)

เป็นไขมันเลวที่ไม่ควรรับประทาน เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนน้ำมันให้เป็นของแข็งเพื่อเพิ่มความอร่อยของอาหาร เป็นไขมันที่มนุษย์สร้างขึ้นมา

พบมากในมาการีน เบเกอรี่ เค้ก มันฝรั่งทอดกรอบ ไขมันทรานส์ทำให้เพิ่มปริมาณไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี(HDL) ในเลือด
มีผลทำให้เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆเช่นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และเบาหวาน

เราจะเห็นได้ว่าการบริโภคน้ำมัน มีผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆโดยเฉพาะโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง จึงเกิดคำถามว่าเราควรจะเลือกน้ำมันสำหรับคนที่เสี่ยงหรือเป็นโรคนี้อยู่แล้วอย่างไร เรามีคำตอบให้ด้านล่างนี้ค่ะ

[alert-warning]โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตประชากรมากที่สุด พบว่าทุก ๆ 2 วินาที จะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน[/alert-warning]

เป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมากที่ อวัยวะส่วนสำคัญที่สุดของร่างกายอย่างหัวใจ ที่ต้องทำงานหนักตลอดช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควรจะเป็น สังเกตจากอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตประชากรก่อนวัยอันควร มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

Photo Credit: blogbold Flickr via Compfight cc

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ได้ออกมาแนะนำให้บริโภคไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมัน MUFA สูง เพราะจะช่วยลดคลอเรสเตอรอลตัวร้าย (LDL – C) ในร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ตราสัญลักษณ์ อาหารรักษ์หัวใจ คือ “คำตอบ”

ถ้าเป็นสมัยก่อนแทบจะเป็นไม่ได้เลยที่เราจะทราบองค์ประกอบของน้ำมันโดยละเอียดอย่างที่ องค์การอนามัยโลก (WHO)แนะนำ ทำให้การเลือกซื้อดูยุ่งยาก

แต่ปัจจุบันมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับภาควิชาโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการ “อาหารไทย หัวใจดี” มีตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” เฉลิมหล้า ๗๒ พรรษา มหาบรมราชินี สำหรับชาวไทย

มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ประชาชนเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจของตนเองได้ง่ายและรวดเร็ว และเพื่อให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ได้เปิดมิติใหม่ในการจำหน่ายสินค้า ที่มีตรารับรองแบบสากล

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” นี้ บ่งบอกว่า ในอาหารมีชนิดของกรดไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือ เกลือไม่มากหรือปริมาณน้ำตาลไม่มาก หรือ มีใยอาหารสูง เมื่อบริโภคในปริมาณที่ให้พลังงานเหมาะสม จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

โดยตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” จะมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ พร้อมเครื่องหมายถูก และอักษรที่ฐานของวงกลม
ระบุว่า มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 2 แบบ คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ตราสัญลักษณ์ อาหารรักษ์หัวใจ (Heart Logo)

โดยการจะได้มาซึ่ง ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” นี้ ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต้องส่งผลิตภัณฑ์นั้นๆให้กับมูลนิธิฯตรวจสอบและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (แบบปิดตา)

เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าสัดส่วนและองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด จะได้รับการอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ จาก มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อนการจัดจำหน่าย

ลักษณะการติดป้ายสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” จะเป็นตามตัวอย่างดังรูป

Emerald น้ำมันรักษ์หัวใจ

Emerald เป็นแบรนด์น้ำมันคุณภาพที่ได้ผ่านการตรวจสอบ และรับรองตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” อย่างถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันมี 3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ ให้เลือกใช้ง่ายๆตามวิธีการปรุงและรับประทาน ซึ่งทั้ง 3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ เป็นน้ำมันผสม เพื่อให้มีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัว (SFA), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เหมาะสำหรับช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

และที่สำคัญ น้ำมันผสมทั้งสามสูตรนี้ไม่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ และสารกันหืนที่เป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

1. Nutri Blend

น้ำมันปาล์มโอเลอิน ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันคาโนลาผ่านกรรมวิธี ทำให้จุดเดือดของน้ำมันต่ำลง ทำให้ใช้ความร้อนน้อยลงในการปรุงอาหารถ้าเทียบกับน้ำมันปาล์มปกติ จึงเหมาะสำหรับการปรุงอาหารประเภททอดและผัด

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:1.7:0.6 เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย

สัดส่วนที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ SFA:MUFA:PUFA คือ 1:1.5:1

 

2. Stir-Frying Blend

น้ำมันคาโนลา ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันผ่านกรรมวิธี สามารถทนความร้อนได้ปานกลาง เหมาะสำหรับทำอาหารประเภทผัด มีส่วนช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:6.5:4  เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย  มีวิตามิน E 40% Thai RDI โดยน้ำมันสูตรนี้ มี omega-3 สูงกว่าน้ำมันถั่วเหลืองถึง12%

สัดส่วนที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ SFA:MUFA:PUFA คือ 1:1.5:1

 

3. Salad Oil Blend

น้ำมันคาโนลา ผ่านกรรมวิธีผสมน้ำมันถั่วเหลืองผ่านกรรมวิธี เหมาะสำหรับทำน้ำสลัด มายองเนส หรือ ราดบนผักสลัดแล้วปรุงรสตามใจชอบ

สัดส่วนกรดไขมัน SFA:MUFA:PUFA = 1:6:3.5   เป็นสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุล ดีต่อร่างกาย มีวิตามิน E15% Thai RDI และ มี omega-9 สูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง 2 เท่า และมากกว่าน้ำมันทานตะวัน 60 %

สลัดผักสด เมนูยอดนิยม สำหรับผู้ดูแลสุขภาพ และผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก การทานสลัดผักสด นิยมเลือกผักใบเขียว ผักสีแดง หรือส้ม และราดด้วยน้ำสลัด หรือ น้ำมันมะกอก

เพื่อให้มื้ออาหารของคุณไม่ฝืดคอ และไร้รสชาติจนเกินไป

[alert-success]แต่รู้หรือไม่ น้ำสลัด ที่ขายกันตามท้องตลาดนั้น ใช้น้ำมันที่เหมาะสำหรับทอด ซึ่งมี PUFA สูง เพื่อให้ทนต่อความร้อน ซึ่งสารตัวนี้จะไปขัดขวางการเผาผลาญไขมันร่างกาย

 

ทางเราจึงขอแนะนำให้เลือกใช้ น้ำมัน Emerald สูตร Salad Oil Blend ซึ่งมีสมดุลของกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย ในการทำน้ำสลัด หรือมายองเนส เพียงเท่านี้ก็จะได้รับประทานสลัดผักสด ได้ครบทุกคุณค่า

 

หรือใครที่อยากทานสลัดราดน้ำมัน แต่ลองใช้น้ำมันมะกอกแล้ว พบว่ากลิ่นของน้ำมันมะกอกนั้นกลับแรงและรบกวนมื้ออาหารของคุณ เราก็ขอแนะนำเป็นให้ราดน้ำมัน Emerald สูตร Salad Oil Blend ลงในผักสดแล้วปรุงรสตามใจชอบ โดยน้ำมันสูตรนี้มี โอเมกา 9 ใกล้เคียงกับน้ำมันมะกอกอีกด้วย[/alert-success]

ที่ผ่านมาคนส่วนมากยังสับสนและไม่ทราบถึงการเลือกใช้น้ำมันที่ถูกต้องเพราะเรื่องประเภทและสัดส่วนของกรดไขมันที่สมดุลมีรายละเอียดมากพอสมควร รวมถึงยังไม่รู้จักตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” สักเท่าไหร่

ปัจจุบัน น้ำมันตรา Emerald ที่ได้ผลิตน้ำมันทั้ง3 สูตรที่ได้ตราสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจ ที่ตอบโจทย์ทุกการปรุงอาหารและดีต่อสุขภาพ โดยได้ผ่านการตรวจสอบอย่างมีมาตรฐาน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หากทานในปริมาณที่เหมาะสม  เข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตครั้งต่อไปอย่าลืมดูฉลากก่อนการเลือกซื้อ แค่สังเกตตราสัญลักษณ์รูปหัวใจ ตัวช่วยง่ายๆที่ทำให้คุณสามารถซื้อน้ำมันเพื่อสุขภาพมาไว้คู่ครัวค่ะ

ที่มา:
http://bit.ly/heart-disease-facts
http://bit.ly/heartdiseasethai
http://bit.ly/cardiovascular-disease
http://bit.ly/truth-about-fats
http://bit.ly/omega369ratio

ใหม่กว่า เก่ากว่า