โรคความดันโลหิตสูง ลดได้ แค่ใส่ใจการกินอาหารและเลี่ยงความเสี่ยงให้เป็น!

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่ค่อยแสดงอาการให้ผู้ป่วยเห็น และมักจะปรากฏให้ทราบต่อเมื่ออาการที่เกิดขึ้นมีความหนักจนไปแทรกซ้อนทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ ตามมาแล้ว

โดยเฉพาะในหมู่คนที่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ ไม่ค่อยเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี กินอาหารที่มีแต่ไขมัน น้ำตาลและสารปรุงแต่งเป็นประจำ เหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคความดันได้ง่าย

อาการบ่งชี้ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

อาการเริ่มแรกที่จะบ่งบอกได้ถึงสัญญาณของการเป็นโรคนี้ มักจะคล้ายกับอาการเจ็บป่วยโดยทั่วไป ทำให้เรามักคิดว่าเกิดขึ้นจากความเครียด การทำงานหนักและพักผ่อนน้อย

อย่างเช่นอาการปวดหัวเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นได้เมื่อระดับความดันถูกกระตุ้นสูงขึ้น บางคนจะรู้สึกปวดหัวแบบมึนๆ แต่ไม่ปวดมาก อาจจะปวดเพียง 2-3 ชั่วโมง เมื่อได้พักผ่อนก็หายไป แต่ในบางรายมีอาการปวดตึ้บๆ แบบทั้งวันก็เป็นได้เช่นกัน

อาการเลือดกำเดาออกบ่อย เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่มีเส้นเลือดฝอยบอบบาง หรือถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนฉีกขาด และมันอาจจะเกิดขึ้นได้จากภาวะความดันสูงทำให้เส้นเลือดฝอยแตกจากแรงดันเลือด รู้สึกมึนงง ตาพร่ามัวหรือเหมือนจะเป็นลมเมื่อลุกขึ้นยืนแบบกระทันหัน

รวมไปถึงอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นกว่าปกติ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจและหากมีอาการบ่อยๆ ก็ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับความดันเพื่อให้มั่นใจได้ว่าตนเองไม่ได้ป่วย หรือหากป่วยจริงๆ ก็จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่พบได้ทั่วไป

การเกิดขึ้นของโรคความดันโลหิตมาจากสองสาเหตุใหญ่คือ สาเหตุแรกมักไม่ทราบเหตุที่แน่ชัด ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของการทำงานภายใน อาจจะมาจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานและโรคหัวใจ ทำให้แรงดันเลือดบีบตัวสูงขึ้น

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยในการดำเนินชีวิตและสภาพทางสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

พบมากในผู้ป่วยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่พฤติกรรมในการกินอาหารรสเค็มจัด ระบบพันธุกรรมที่ส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ทำให้เกิดการหลั่งสารเคมี Renin angiotensin มากเกินไป นำมาซึ่งความดันโลหิตที่สูงขึ้น

บางรายเกิดขึ้นได้จากการแทรกซ้อนของโรคไต มักจะมีโรคความดันโลหิตร่วมอยู่ด้วย การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การตีบของหลอดเลือดแดง และการใช้สารเสพติดบางชนิดเช่น ยาบ้า ก็ทำให้เกิดภาวะความดันสูงได้เช่นเดียวกัน

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

หากใครที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนหน้านี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากกว่าคนทั่วไป ผู้ชายและหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน น้ำหนักตัวที่เข้าเกณฑ์โรคอ้วน

นิสัยการชอบรับประทานอาหารรสเค็มและอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันสูง การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และความเครียดความกดดัน เหล่านี้ ล้วนเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันสูงได้มากขึ้น

การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วย

โรคความดันโลหิตสูง นอกจากผู้ป่ววจะต้องมั่นเข้ารับการตรวจรักษาอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งของแพทย์แล้ว การดูแลตัวเองในเบื้องต้นยังเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อช่วยให้อาการของโรคไม่กำเริบขึ้นมาบ่อยเกินไป

ซึ่ง “อาหาร” ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีความจำเป็น พฤติกรรมการกินที่ทำร้ายสุขภาพที่ผ่านมาจะต้องถูกปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด และอาหารที่ผู้ป่วยควรพิจารณาเลือกกินมีดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสมาก

เนื่องจากผงชูรสเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความดันสูง แม้ว่าจะไม่มีรสเค็มแต่ผงชูรสกลับอุดมไปด้วยโซเดียมในปริมาณสูง เพียงแค่ 1 ช้อนชา ให้โซเดียมเกือบ 500 มก. ยิ่งร่างกายได้รับมากๆ ความดันโลหิตก็จะถูกกระตุ้นให้สูงอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

2.กินอาหารที่รสจืด

อาหารรสจืดในที่นี้ใช่ว่าจะไม่ควรปรุงรสชาติใดๆ เลย แต่ผู้ป่วยควรเลือกเป็นอาหารที่ไม่จัดจนเกินไป โดยเฉพาะรสเค็มที่มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต เมื่อร่างกายมีโซเดียมมากจะทำให้เกิดการสะสมของน้ำในเซลล์ เกิดเป็นภาวะบวมน้ำ ดังนั้นอาหารจากธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แรกๆ อาจจะไม่คุ้นชินในรสชาติ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น

3.อย่าลืมผักและผลไม้

ผักผลไม้เป็นอาหารที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเจ็บป่วยด้วยโรคอะไร อาหารจากธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดนี้ก็จะถูกแนะนำไว้เป็นอันดับต้นๆ ของอาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงไฟเบอร์ในปริมาณสูง ทำให้มันสามารถเข้าไปปรับสมดุล ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ และทำให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น

หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเสี่ยง

นอกจากการดูแลตัวเองด้วยอาหารที่เหมาะสมแล้ว การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความเครียดที่จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจโดยตรง รักษาสภาพจิตใจให้เป็นสุข สงบและผ่อนคลาย

[alert-success]อาจจะใช้การนั่งสมาธิสวดมนต์ และการออกกำลังกายเข้ามาประยุกต์ใช้ การป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข[/alert-success]

เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณจะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตเป็นโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงภาระความรุนแรงและยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ เพียงแค่เรารู้จักดูแลร่างกายและจิตใจของตัวเองให้สมดุล เพียงเท่านี้สุขภาพที่แข็งแรงก็จะคงอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว

ใหม่กว่า เก่ากว่า